สมบัติของสิงแวดล้อม

สมบัติ





สมบัติ หมายถึง สิ่งที่มีอยู่ในตัว ซึ่งมีศักย์ในการแสดงออกในสิ่งนั้นๆ การฝืนศักย์ของสิ่งแวดล้อมนั้นๆ ย่อมก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เสมอไม่มากก็น้อย ดังนั้นการที่จะทำให้สิ่งแวดล้อมยั่งยืน (Sustainable environment) จำเป็นต้องเข้าใจถึงสมบัติของสิ่งแวดล้อมนั้นเสมอ ซึ่งมี 7 ประการ ดังนี้
1. มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการที่จะแสดงว่ามันคืออะไร เช่น ป่าไม้ ดิน น้ำ สัตว์ เป็นต้น การเปลี่ยนเอกลักษณ์จะไม่เกิดขึ้นในมหภาค (macroscale) แต่อาจเปลี่ยนในจุลภาค (microscale)
2. ไม่อยู่โดดเดี่ยว สิ่งแวดล้อมจะต้องมีสิ่งแวดล้อมอื่นด้วยเสมอ เช่น ปลากับน้ำ ต้นไม้กับดิน เป็นต้น
3. มีความต้องการสิ่งแวดล้อมอื่นเสมอ สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทจะมีความต้องการสิ่งแวดล้อมอื่นเสมอเพื่อ
ความอยู่รอดและรักษาสถานภาพตนเอง เช่น ปลาต้องการน้ำ มนุษย์ต้องการที่อยู่อาศัย เป็นต้น
4. อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม/ระบบนิเวศ ซึ่งภายในระบบจะมีองค์ประกอบและหน้าที่เฉพาะของมันเอง
5. มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันเป็นลูกโซ่ ดังนั้นเมื่อทำลายสิ่งแวดล้อมหนึ่งก็จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เป็นลูกโซ่เสมอ เช่น การทำลายป่าไม้ ก่อให้เกิดการชะล้างพังทลายของดิน เกิดอุทกภัย เป็นต้น
6. สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทจะมีลักษณะความทนทานและความเปราะบางต่อการถูกกระทบแตกต่างกัน
7. สิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบถาวรหรือชั่วคราวก็ได้
จากสมบัติของสิ่งแวดล้อมทั้ง 7 ข้อ นี้ทำให้ทราบดีว่าถ้าหากมีการทำลายหรือใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมมากเกินไป ก็จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนั้นๆ ตามมาเสมอหรือที่เรียกว่ามลพิษสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีมากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษทางดิน มลพิษทางเสียง มลพิษจากขยะและของเสีย เป็นต้น

1) สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น ต้นไม้จะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่าง จากสิ่งอื่น เช่นแตกต่างจากน้ำ แตกต่างจากโบราณสถาน
2) สิ่งแวดล้อมจะไม่อยู่โดดเดี่ยว แต่อยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมอื่น และอยู่ร่วมกันเป็นสังคม เช่น มนุษย์กับที่อยู่อาศัย ต้นไม้กับดินและน้ำ ปลากับน้ำ
3) สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทต้องพึ่งพาอาศัยสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ด้วยเสมอ เช่น พืชต้องการน้ำ และดิน สัตว์ต้องการอากาศหายใจ
4) สิ่งแวดล้อมทั้งหลายมีความสัมพันธ์โยงใยกันและกัน ดังนั้น เมื่อสิ่งแวดล้อมหนึ่งถูกทำลาย จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ด้วย เช่น การตัดไม้ทำลายป่าทำให้ดินพังทลาย เกิด ความแห้งแล้งหรือเกิดอุทกภัยได้


ที่มา..http://environbasical-es-crma.blogspot.com/2008/07/blog-post_30.html









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น