มลภาวะจากกัมมันตะรัง

มลภาวะจากกัมมันตะรังสีที่มีอยู่ในธรรมชาติ 







รังสีที่มีอยู่ในธรรมชาติ ซึ่งได้จากการสลายตัวของกัมมันตภาพวัตถุกลายเป็นธาตุต่าง ๆ ธาตุกัมมันตภาพรังสีที่สำคัญมีอยู่ 2 ตระกูลคือ ยูเรเนี่ยม (Uranium) และทอเรี่ยม (Thorium) ธาตุทั้งสองนี้ต่างก็สลายตัวเป็นธาตุต่าง ๆ หลายธาตุที่น่าสนใจคือ ตระกูลยูเรเนี่ยมให้ธาตุเรดอน (Radon) และตระกูลทอเรี่ยมให้ธาตุโทรอน (Thoron) ทั้งเรดอนและโทรอน มีสภาพเป็นก๊าซลอยขึ้นมาจากพื้นดินขึ้นสู่อากาศอยู่ตลอดเวลา ธาตุทั้ง 2 นี้ จะส่งกัมมันตรังสีออกเป็นหลายช่วง กลายเป็นธาตุต่าง ๆ ดังนั้นทุกครั้งที่เราหายใจเอากาศเข้าปอด ย่อมได้รับส่วนของรังสีของธาตุต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วเข้าไปด้วย จากการติดตามข่าว ปรากฎว่าทางภาคอีสานมีธาตุกัมมันตรังสีอยู่ ตั้งแต่จังหวัดนครราชสีมาจนถึงจังหวัดขอนแก่น ส่วนทางภาคใต้ก็มีขี้แร่ดีบุก พวกโมโนไซด์เป็นแร่ธาตุที่มีกัมมันตรังสีอยู่เช่นกัน แถวสงขลา นราธิวาส ขณะนี้ทำเป็นเม็ดยูเรเนี่ยมได้แล้ว ส่วนทางภาคเหนือยังไม่มีการสำรวจ คาดว่าคงจะพบเช่นกัน ดังนั้นโอกาสที่เราจะได้รับรังสีก็ย่อมมี นอกจากนั้นสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อม ยังได้วิจัยเพื่อวัดปริมาณของเรดอนและโทรอน โดยดูดอากาศกลางแจ้งผ่านกระดาษกรองเผาเป็นเถ้าเพื่อลดปริมาณของกระดาษกรอง แล้ววัดปริมาณของรังสีมีผลเฉลี่ยที่น่าสนใจ คือ ในฤดูหนาวมีลมพัดจากแผ่นดินใหญ่จีนเข้าสู่ประเทศไทยทางทิศเหนือหรือตะวันออกเฉียงเหนือ จะนำเอาก๊าซทั้งสองชนิดเข้ามาโดยมีค่าเฉลี่ยดังนี้
รดอน (Radon) 186 ปิโกคูรี่ต่อลูกบาศก์เมตร
โทรอน (Thoron) 5 ปิโกคูรี่ต่อลูกบาศก์เมตร
ส่วนฤดูร้อนและฤดูฝนมีลมพัดมาจากทิศใต้ ผ่านทะเลเป็นส่วนใหญ่ ผ่านแผ่นดินน้อย การวัดพบว่า มีก๊าซทั้งสองน้อยกว่าฤดูหนาวมีคือ
เรดอน (Radon) 122 ปิโกคูรี่ต่อลูกบาศก์เมตร
โทรอน (Thoron) 3 ปิโกคูรี่ต่อลูกบาสก์เมตร
ผลเฉลี่ยตลอดปีของประเทศไทยมีดังนี้
เรดอน (Radon) 120 ปิโกคูรี่ต่อลูกบาศก์เมตร
โทรอน (Thoron) 3 ปิโกคูรี่ต่อลูกบาศก์เมตร
มวลสารทั้งหลายประกอบไปด้วยอนุภาคเล็ก ๆ ที่เราเรียกว่า อะตอม (Atom) หรือภาษาราชการเรียกว่า ปรมาณู แต่ละอะตอมประกอบด้วย นิวเคลียส (Nucleus) เป็นแกนกลางมีบริเวณวิ่งรอบเรียกว่า อีเล็กตรอน (Electron) คล้าย ๆ พระจันทร์หมุนรอบดวงอาทิตย์ ตัวอย่างเช่น คาร์บอน 12 แสดงเป็นรูปข้างล่างนี้
ในแต่ละธาตุประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอนอยู่ในนิวเคลียส ซึ่งจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสนี้เรียกว่า "เลขอะตอม" (Atomic number) แต่ละธาตุจะมีจำนวนต่างกัน ตัวอย่างเช่น อะตอมของไฮโดรเจนมีโปรตอน 1 อนุภาค อะตอมของยูเรเนี่ยมมีโปรตอน 92 อนุภาค ธาตุเดียวกันมีโปรตอนเท่ากัน แต่อาจจะมีนิวตรอนต่างกันได้ สิ่งนี้เองเป็นเหตุให้ธาตุเดียวกันแบ่งออกได้อีกหลายชนิด แต่ละชนิดมีมวล (Mass) ไม่เท่ากัน เช่น โปรเตียม เขียนได้ดังนี้ 1H1 (1P + 1N) คิวเทียม 1H2 (1P + 2N) ทริเตียม 1H3 (1P + 3N) ซึ่งก็เนื่องมาจากมีจำนวนนิวตรอนต่างกันนั่นเอง และมีชื่อเรียกแต่ละชนิดนี้ว่าเป็น ไอโซโทป (Isotope) ของธาตุนั้น ๆ ไอโซโทปแบ่งออกได้เป็น พวก คือ ไอโซโทปที่อยู่ตัว (Stable Isotope) และไอโซโทปที่ไม่อยู่ตัว มีการแผ่รังสีออกมาเรียกว่า เรดิโอไอโซโทป (Radio Isotope) เพื่อให้เข้าใจง่ายเข้า รังสีไอโซโทป (Isotope) ก็คือ อะตอมของธาตุที่มีอะตอมมิกนัมเบอร์ (Atomic number) อันเดียวกัน คุณสมบัติทางนิวตรอน (neutron) ต่างกัน และมีน้ำหนักต่างกันด้วย คุณสมบัติทางฟิสิกส์ต่างกัน แต่ทางเคมีเกือบเหมือนกันทุกประการจะต่างกันก็ที่อัตราความเร็วในการทำปฏิกริยาเท่านั้น ซึ่งเป็นคุณสมบัติของธาตุนั้น ๆ ตามธรรมชาติ

ธาตุบางชนิด จะมีการแผ่รังไอโซโทปออกไปไม่หยุดยั้ง เช่น ธาตุยูเรเ


ที่มา....https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น